ลูกตัวเหลือง(บางสาเหตุ) ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

 

                สำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่เคยได้ข่าวเล่าลือเกี่ยวกับการที่ “ลูกตัวเหลือง” ว่าเป็นภาวะที่อันตราย อาจทำให้ลูกเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ครบอาทิตย์ หรือลูกต้องถ่ายเลือดเพราะตัวเหลือง ทำให้พ่อแม่กังวลใจ กลัวว่าลูกจะเสี่ยงจากการถ่ายเลือด ถ้าไม่ให้ลูกถ่ายเลือดก็กลัวลูกจะจากเราไปตั้งแต่แรกเกิด เรามาปัดเป่าความไม่รู้เกี่ยวกับลูกตัวเหลืองกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ว่าเราควรจะตัดสินใจอย่างไร เมื่อลูกมีภาวะตัวเหลืองหลังคลอด หรือเราจะป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองได้อย่างไร

เนื่องจากภาวะลูกตัวเหลืองเกิดขึ้นจาก 3 สาเหตุหลักๆ ดังนั้นวิธีการรักษาก็จะต่างกันไปค่ะ
 
สาเหตุแรกของลูกตัวเหลืองมาจากการที่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน สำหรับหมู่เลือด A B Oเช่น คุณแม่มีเลือดหมู่ O ในขณะที่ลูกในครรภ์มีเลือดเป็นหมู่ A หรือ B (ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อคุณแม่ที่มีหมู่เลือด O แต่งงานกับคุณพ่อที่มีเลือดหมู่อื่นๆ ที่ไม่ใช่หมู่O) ทำให้แอนติบอดี หรือสารต่อต้านเชื้อโรคเพื่อป้องกันตัวคุณแม่ ที่มีอยู่ในน้ำเลือดของคุณแม่นั้น ซึมผ่านรกเข้าไปถึงเลือดของลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งส่งผลให้เม็ดเลือดแดงของลูกแตกง่ายแตกเร็ว เมื่อเม็ดเลือดของของแตกก็จะมีการปล่อยสารสีเหลือ ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า บิลลิรูบิน (Billirubin) ออกมาในกระแสเลือดของลูก และมาเกาะอยู่ตามผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาวของลูก ทำให้เราเห็นว่าลูกมีผิวสีเหลือง
                 ฟังดูแล้วน่ากลัวใช่ไหมค่ะ แต่ในความจริง เราจะพบเด็กทารกที่ป่วยเป็นโรคนี้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น และในรายที่มีอาการรุนแรงจนกระทั่งเม็ดเลือดแดงแตกนั้นพบเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น
 
วิธีการรักษาลูกตัวเหลืองในรายที่มีอาการไม่มาก คุณหมอจะเอาตัวลูกเข้าตู้เพื่อฉายแสง ให้สารสีเหลืองหรือ บิลลิรูบิน ค่อยๆ หลุดออกไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ค่ะ แต่สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรง คุณหมอต้องถ่ายเลือดของลูกค่ะ
 
สาเหตุที่ 2 คือสารบางอย่างที่มีอยู่ในน้ำนมของคุณแม่ แต่ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากนมแม่นั้นไม่ทำ
ให้ลูกมีอันตราย แต่ถ้าตัวเหลืองมากจริงๆ อาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเช่นเดียวกัน แพทย์อาจให้งดนมแม่ 2 วันช่วงเด็กส่องไฟ หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติลูกจะไม่กลับมาตัวเหลืองอีก นอกจากนี้ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำมนน้ำ ไม่เพียงพอต่อคาวมต้องการของลูก ทำให้สารสีเหลืองที่เกาะอยู่ในลำไส้ของลูกซึมกลับเข้าไปสู่กระแสเลือด คุณแม่สามารถให้น้ำเปล่าเสริมลูกได้ค่ะ สารสีเหลืองนั้นก็จะค่อยๆ ถูกขับถ่ายออกไปจากตัวของลูกเองค่ะ
 
สาเหตุที่ 3 เกิดจากการที่ตับของลูกยังทำงานไม่สมบูรณ์ หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างเกี่ยวกับตับ หรือลำไส้ เช่น ภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึม บิลิรูบินกลับเข้ากระแสเลือดแทนที่จะขับถ่ายออกไปเด็กจึงตัวเหลือง สำหรับการรักษาลูกที่ตัวเหลืองเพราะป่วยด้วยอาการเหล่านี้ การรักษาทางการแพทย์ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาเหตุค่ะ
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทั้งการถ่ายเลือดของลูก รวมถึงการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ก็ไม่มีความเสี่ยงมากเท่าที่คุณแม่คิดค่ะ ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลนะคะถ้าลูกตัวเหลือง