5 ปัญหาเรื่องการพูด
 
 ที่มีปัญหาในการใช้ภาษาบางคนพบว่าอาจมีปัญหาเรื่องความบกพร่องของสมอง หรืออวัยวะในการฟังและการพูด ต้องเข้ารับการรักษา ปัจจุบันพบว่ามีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่พัฒนาการด้านอื่นปกติดี แต่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการทางภาษาเพราะได้รับการเลี้ยงดูและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
 
1. ลูกไม่ยอมพูด / พูดช้า
เป็นปัญหาหนักอกยอดฮิตของคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้กันเลยทีเดียว ทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มพูดคำที่มีความหมายเป็นคำๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ แต่พบเด็กหลายคนที่มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ไม่ยอมพูดแม้จะเข้าสู่วัย 1 ขวบกว่าแล้ว แต่สามารถทำตามคำสั่งได้ เข้าใจภาษาที่แม่สื่อสาร และมีทักษะการแก้ไขปัญหาตามวัยได้ดี ในเด็กกลุ่มนี้ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะเป็นกลุ่มที่สามารถพูดได้ทันเด็กวัยเดียวกันได้
อะไรทำให้หนูไม่พูด
·        บุคลิกเฉพาะตัว เด็กบางคนพูดช้าเพราะบุคลิกเป็นคนเงียบๆ ชอบใช้ความคิด เมื่อต้องการสิ่งใดก็จะ
 
 คิดหาวิธีทำด้วยตนเองให้ได้ก่อน ไม่ต้องพยายามสื่อสารขอร้องให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยทำให้
·        ลูกไม่มีโอกาสพูด เพราะอยู่ในครอบครัวที่ทุกคนแย่งกันพูด ไม่มีจังหวะเว้นให้ลูกพูด จึงพูดช้ากว่าปกติ หรือบางครั้งพ่อแม่ตอบสนองความต้องการของลูกดีจนเกินไป เพียงแค่ขยับตัวแม่ก็รู้แล้วว่าอยากได้อะไร ทำให้เขาไม่พยายามสื่อความต้องการด้วยการพูด
·        ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น อยู่ในครอบครัวที่ทุกคนพูดน้อย พ่อแม่ไม่ค่อยพูดเพราะทำงานหนัก ทักษะด้านการพูดของลูกก็พัฒนาได้ช้า หรือแม้แต่การดูทีวีมากเกินไปซึ่งดูเหมือนเด็กๆ จะได้เรียนรู้ภาษาที่หลากหลายจากทีวี แต่เป็นการสื่อสารทางเดียว มีแต่การรับ ไม่มีการกระตุ้นให้เด็กตอบ ขาดการปฏิสัมพันธ์ ลูกจึงเรียนรู้ที่จะพูดได้ช้า  พัฒนาการด้านภาษาของเด็กจะดีได้ต้องมีคนกระตุ้นให้ตอบด้วย เช่นกัน
 
·        บุคคลแวดล้อมใช้ภาษาที่หลากหลาย คุณพ่อใช้ภาษาอังกฤษ คุณแม่ใช้ภาษาไทย เรียกของชิ้นเดียวกันแต่ไม่เหมือนกัน ทำให้ลูกสับสน ไม่รู้จะพูดภาษาไหนดี
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
·        เปิดโอกาสให้เขาได้สื่อสาร บอกความต้องการของตนเองบ้าง
·        เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษา เพราะลูกจะซึมซับจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการพูดกับลูก หรือพูดกันเองให้ลูกได้ยิน ลูกก็จะจดจำไว้
·        เลือกว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาหลักในการพูด ก็ให้สื่อการกับลูกด้วยภาษานั้น เพื่อให้ลูกสามารถพูดภาษานั้นได้ ส่วนภาษารอง ในขั้นต้นพ่อแม่อาจใช้สื่อสารกันเองก่อน ลูกจะได้ฟังและซึมซับภาษาที่พ่อแม่พูดไปในตัว
แบบนี้ควรไปหาหมอ
พัฒนาการทางภาษาในเด็กปกติ เกิน 1 ขวบครึ่งควรพูดได้บ้าง 2 ขวบครึ่งควรสื่อสารรู้เรื่องบ้าง แต่ถ้า 3 ขวบแล้วยังพูดไม่ได้ ก็ควรพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจการฟังและพัฒนาการทางสมอง  
 
2. ตะ ตะ ติด อ่าง....
พบได้บ่อยในเด็กวัยเตาะแตะ ที่กำลังเริ่มหัดพูด คำมากกว่า 2 คำขึ้นไป คือ ความคิดเริ่มแล่น อยากสื่อสาร แต่คิดคำพูดไม่ทันใจ คลังคำในสมองยังน้อย เลยทำให้พูดซ้ำคำเดิม เช่น หนู หนู หนู...กินนมแล้ว มีทั้งติดอ่างเล็กน้อย คือ พูดไม่คล่องเท่ากับเด็กคนอื่นๆ พูดคำซ้ำบ้างเล็กน้อย ซึ่งจะหายเป็นปกติได้เองในเวลาไม่นานนัก และติดอ่างมาก จนมีปัญหาในการสื่อสาร คือเริ่มจากติดอ่างน้อย จนเมื่อลูกรู้ตัวว่าตัวเองมี
ความผิดปกติก็ยิ่งเกิดความกังวล ระมัดระวังตัวเองในการพูดมากขึ้น เกิดความเกร็ง ทำให้ไม่มั่นใจในการพูด กลายเป็นติดอ่างมากขึ้นจนมีปัญหาในการสื่อสาร
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
·        อย่าใช้คำถามกับลูกมากเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงคำพูดที่เหมือนคำถาม เพราะลูกต้องคิดหาคำตอบ ทำให้ลูกติดอ่างมากขึ้น
·        ทำบรรยากาศในบ้านให้สบาย ให้ลูกรู้สึกไม่กังวลกับการพูด ให้กำลังใจลูกว่าอย่ากลัวถ้าจะต้องพูดผิด
·        ให้ความสนใจรับฟังว่าลูกพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับการพูดติดอ่างของลูกมากจนเกินไป
·        เมื่อเด็กรู้สึกผ่อนคลาย ได้รับความรักความเข้าใจจากทุกคนในครอบครัว อาการติดอ่างจะค่อยๆ หายไปได้เอง โดยใช้เวลาช้าเร็วต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
แบบนี้ควรไปหาหมอ
ถ้าลูกติดอ่างมากจนสื่อสารไม่ได้เลย และได้ลองฝึกลูกด้วยตนเองแล้วแต่ไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์พัฒนาการ
 
3. ช่างจ้อ แต่...เป็นภาษาต่างดาว
พัฒนาการลูกสมกับวัยช่างจ้อ พูดเป็นเรื่องเป็นราว แต่พูดรู้เรื่องเป็นบางคำ ที่เหลือภาษาต่างดาวที่ใครๆ ก็เดาไม่ออกว่าเขาพูดถึงอะไร ถามคำถามที่แม่ตอบไม่ได้ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง  
อะไรทำให้หนูพูดไม่รู้เรื่อง
·        คนที่บ้านพูดน้อย ไม่สนใจจะสื่อสารกับลูกเท่าไร ทำให้คลังคำศัพท์ของลูกมีน้อย ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ จึงน้อย
·        คนแวดล้อมรอบตัวลูกพูดเร็ว รัว ออกเสียงไม่ชัดทำให้เด็กฟังไม่ทัน ไม่ได้เรียนรู้ว่าคำนั้นแท้จริงเรียกว่าอะไร
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
·        ฝึกการฟัง ฝึกสื่อสารให้ตรงกันก่อน โดยเริ่มจากของใกล้ตัว นก ประตู หนังสือ จาน แก้ว อาจใช้สิ่งของหรือรูปภาพมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการพูด
·        คุณพ่อคุณแม่อาจพูดให้ช้าลง และออกเสียงให้ชัดขึ้น ขยับปากให้ลูกเห็นชัดๆ เพื่อลูกจะได้จดจำการใช้ภาษาของคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างง่ายมากขึ้น
·        พยายามสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการเรียกชื่อเฉพาะของสิ่งนั้นไปเลย เช่น สมุด หนังสือ ตุ๊กตา จานข้าว ไม่เรียก อันโน้น อันนั้น ลูกจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น
·        ช่วงที่ลูกหัดพูด มีภาษาต่างดาว หรือภาษาของเขาเอง ก็พยายามคาดคะเนดูว่าลูกหมายความว่าอย่างไร แล้วพูดให้ลูกพูดคำที่ถูกต้องตาม แต่เป็นไปอย่างสบายๆ ไม่เครียด ลูกจะได้เรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการสื่อความที่ถูกต้องได้
แบบนี้ควรไปหาหมอ
พูดภาษาต่างดาวทุกคำ โดยที่ไม่พูดคำที่มีความหมายเลย หรือไม่สามารถทำตามคำสั่งได้ ไม่รับรู้ ไม่เข้าใจ ติดต่อสื่อสารกับใครไม่ได้เลย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสังเกตว่ามีอาการอื่นที่อาจจัดว่าอยู่ในกลุ่มออทิสติกหรือไม่
 
4. พูดได้...แต่ไม่ชัด
มีทั้งแบบพูดไม่ชัดเป็นคำๆ พูดไม่ชัดเป็นตัวอักษร และพูดไม่ชัดทุกคำ ซึ่งไม่ได้มีความผิดปกติทางร่างกาย การได้ยินปกติดี และไม่มีปัญหาเรื่องสมอง แต่พูดไม่ชัด เช่น สะกดหรือออกเสียงบางคำไม่ได้
อะไรทำให้หนูพูดไม่ชัด
·        อวัยวะในการออกเสียง ไม่พร้อม การใช้ปาก ลิ้น ฟัน ไม่คล่องแคล่วพอ ยังไม่สามารถควบคุมอวัยวะแล้วส่งเสียงให้เป็นไปตามที่ใจต้องการได้ ถือเป็นภาวะปกติของวัยนี้
·        ต้นแบบไม่เหมาะสม เด็กจะเลียนแบบคนรอบตัว เมื่อพ่อแม่หรือพี่เลี้ยง พูดไม่ชัด จึงทำให้เด็กพูด
ไม่ชัดไปด้วย
·        เลิกขวดนมช้า หลังอายุ 1 ขวบครึ่งไปแล้ว เป็นสาเหตุให้ลูกฟันผุและหลุดก่อนวัยอันควร ทำให้อวัยวะในการฝึกออกเสียงไม่สมบูรณ์ ลูกจึงพูดออกเสียงบางเสียงไม่ชัด
·        พ่อแม่เห็นลูกพูดไม่ชัดแล้วก็บอกว่าน่ารัก แล้วไปเลียนแบบคำพูดไม่ชัดนั้นของลูก กลายเป็นเรื่องสนุกสนานของครอบครัวทำให้ลูกคิดว่าดี จึงติดนิสัยพูดแบบนั้นต่อไป
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
·        เลิกขวดนมตามวัย
·        พ่อแม่และบุคคลรอบตัวพยายามเป็นตัวอย่างที่ดี
 
ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ถ้าไม่ชัดเพราะคนใกล้ตัวพูดไม่ชัด ก็พยายามแก้ไขให้คนแวดล้อมพูดกับเด็กอย่างชัดถ้อยชัดคำ ฝึกไปพร้อมๆ กันด้วยก็ได้ ลูกจะได้มีเพื่อน รู้สึกสนุกกับการฝึกมากขึ้น
·        หาเกมเล่นฝึกการเคลื่อนไหวของปากและลิ้น เช่น เป่าลูกโป่ง เป่าเทียน เป่านกหวีด เป่าฟองสบู่แสนสนุก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูด
·        อย่าเข้มงวดปรับพฤติกรรมตรงนี้มากนัก จะทำให้ลูกเกิดความเครียดจากที่พูดไม่ชัด จะกลายเป็น
ไม่อยากพูดไปเลย ควรสร้างบรรยากาศสบายๆ
แบบไหนควรไปหาหมอ 
คนที่อยู่รอบตัวใช้ภาษาที่ถูกต้องมาโดยตลอด แต่ดูเหมือนโครงสร้างร่างกายที่เกี่ยวกับการพูดของลูก เช่น การทำงานของปาก ลิ้น ฯลฯ ผิดปกติ ทำให้ลูกไม่สามารถพูดตามอย่างที่ได้ยิน พูดไม่ชัดทุกคำ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการรักษาและฝึกพูดต่อไป
 
5. พูดม๊าก...มาก เกินไปแล้วนะลูก
ก้าวผ่านขั้นของความกลัว “ลูกพูดช้า” มาได้ไกล ถึงตรงจุดนี้คุณแม่อาจต้องปวดหมองกับอาการจ้อไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ของเจ้าตัวเล็กได้ ตั้งแต่ตื่นตอนเช้าจนเข้านอน ลูกก็มีเรื่องนั้นเรื่องนี้มาเล่า ไม่รู้เอาพลังในการพูดมาจากไหน แล้วก็คอยเรียก แม่ๆๆๆ ให้หันมาสนใจ หันมาดู หันมาฟัง ถ้าไม่สนใจก็จะตื้อให้ฟัง คอยถาม
 
อาการแบบนี้ควรระวัง
อายุ 1 ขวบ ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้ สื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่ได้ ไม่สามารถเข้าใจหรือทำตามคำสั่งได้ ไม่เข้าใจว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร ไม่มีความสนใจในการสื่อสาร เรียกชื่อไม่หัน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหาความผิดปกติว่ามีการบกพร่องในการได้ยิน อยู่ในกลุ่มอาการออทิสติก สติปัญญาช้า หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
โน่นนั่นนี่ตลอด เหมือนเล่นเกมพันคำถาม (จนแม่เหนื่อยแล้วลูก) แต่อาการช่างจ้อของลูกคงไม่เป็นปัญหาที่คุณแม่จะต้องกลุ้มใจ ถือเป็นข้อดีที่ลูกอยากพูดคุย อยากรู้อยากเห็น ซึ่งหากพ่อแม่ให้ความสนใจ ตอบสิ่งที่เขาอยากรู้ และสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากรู้มากขึ้นได้ สมองลูกก็จะมีการพัฒนาอย่างสมวัยเต็มที่
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
·        พยายามตอบคำถาม หรือตั้งคำถามกลับ ชวนลูกคิดต่อยอด
·        สอนให้ลูกถามหรือพูดด้วยภาษาที่ถูกต้อง
·        สอนมารยาท บอกลูกว่าเราจะไม่พูดแทรกในขณะที่คนอื่นกำลังพูดคุยกันอยู่ ยกเว้นเรื่องสำคัญที่ต้องบอกเดี๋ยวนั้น เช่น ปวดฉี่ปวดอึ
·        ให้ความสนใจเวลาลูกอยากเล่าเรื่องหรือพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ แต่ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็อาจให้เขารอสักครู่ สัญญาว่าจะกลับมาฟังลูกเล่า เวลาในการรอก็ตามความสามารถในความอดทนของแต่ละวัย เริ่มต้นอาจให้รอสัก 2 นาที แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 3 – 5 นาที และต้องทำตามสัญญาทุกครั้ง
·        เกมก้อนหิน เอาไว้เวลาแม่เหนื่อยจริงๆ ก็แปลงร่างเป็นก้อนหินแข่งกัน กติกาคือ ก้อนหินพูดไม่ได้ กระดุกกระดิกไม่ได้ ใครพูดก่อนคนนั้นแพ้ (ถึงอย่างไรลูกก็แพ้ แต่ช่วยต่อเวลาให้แม่ได้พักซักเดี๋ยวก็คงจะดีไม่น้อย)