พิระมิดอาหารสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ

                เนื่องจากแหล่งพลังงานของเด็กที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ มาจากอาหารที่พวกเขารับประทานเข้าไป เด็กๆ จึงควรได้รับพลังงานจากอาหารวันละ 900 – 1200 แคลอรีต่อวัน แต่ในโลกปัจจุบันที่มีอาหารให้เราและลูกเลือกมากมายหลายประเภท เราควรใช้หลักอะไรในการเลือกอาหารให้ลูกรับประทาน

                มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาถึงปริมาณสารอาหารแต่ละหมู่ที่เด็กวัยเตาะแตะควรจะได้รับ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทอาหารที่เด็กสมควรได้รับในแต่ละวัน ออกมาเป็น  พิระมิดโภชนาการได้ตามนี้

                ฐานพิระมิด : ธัญญาหาร ลูกน้อยของเราต้องได้รับธัญญาหารวันละห้าถึงหกส่วน อาหารประเภทนี้ก็คือ พวกข้าว ข้าวโพด

ซีเรียล หรือขนมปัง ในกรณีที่ต้องทานขนมปัง หากเลือกได้ แนะนำให้เลือกขนมปังแบบโฮลวีตให้ลูกแทนขนมปังแป้งขัดขาวค่ะ
                พิระมิดชั้นที่ 1 : ผักและผลไม้ ต้องให้ลูกของเรารับประทานผักสองถึงสามส่วน เช่นเดียวกับผลไม้สองถึงสามส่วนต่อวัน เด็กบางคนอาจจะเลือกทานผักหรือผลไม้แค่บางชนิด แต่เป็นหน้าที่ของเราซึ่งเป็นพ่อแม่ต้องแนะนำให้ลูกรู้จักกับผักและผลไม้ชนิดใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกและเพิ่มความหลากหลายของสารอาหารที่ลูกจะได้รับ รวมถึงเส้นใยในผลไม้และผักสด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพเด็ก ดังนั้นเราจึงต้องสร้างนิสัยไม่เลือกกินผักและผลไม้ให้กับลูก

 
                ยอดพิระมิด : ไขมันและของหวานที่ควรจำกัด สาเหตุที่ทั้งไขมันและของหวานถูกจัดเป็นยอดพิระมิด ก็เพราะเด็กควรรับประทานของทั้งสองอย่างในปริมาณน้อยกว่า 1 ส่วนต่อวัน เด็กๆ ท ทานอาหารประเภท ฟาสต์ฟูด มันฝรั่งทอด พิซซ่า มากกว่า หนึ่งครั้งในหนึ่งสัปดาห์ จะทำให้เด็กได้รับคุณค่าทางอาหารไม่เพียงพอและจะทำให้เด็กได้รับคอเรสตอรอลในปริมาณสูงอีกด้วย ส่วนพวกของหวานที่เด็กๆ ทั้งหลายโปรดปรานเป็นที่สุดนั้น เราสามารถให้ลูกรับประทานได้ หนึ่งถึงสองครั้งต่อสัปดาห์เมื่อมีโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่สิ่งที่ดีคือ เราควรฝึกให้ลูกรับประทานผลไม้เป็นของหวานแทนของหวานจริงๆ ที่มีแต่น้ำตาล
 
                คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรวิตกถึงปริมาณอาหารที่ลูกรับประทานมากเกินไป เช่น กลัวว่าลูกทานน้อยเกินไป เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการอาหารปริมาณน้อยกว่าในวัยทารกเพราะอัตราการเจริญเติบโตของเขาลดลง เด็กอายุ 2 ขวบต้องการอาหารเพียง 8 – 9 ต่อมื้อเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่เราต้องคำนึงเรื่องอาหารของลูกจึงเป็นเรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณ เราต้องแน่ใจว่าในแต่ละมื้อลูกได้รับสารอาหารครบทุกประเภทตามที่ร่างกายต้องการ เราต้องจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กับลูก จากนั้นปล่อยให้ลูกเป็นคนตัดสินใจเองว่าเขาจะกินอาหารปริมาณมากเท่าไหร่ในแต่ละมื้อ

 

 
                พิระมิดชั้นที่ 2 : โปรตีนและผลิตภัณฑ์นม เด็กวัยเตาะแตะจำเป็นต้องได้รับโปรตีนสองถึงสามส่วนต่อวัน โดยหนึ่งส่วนอาจเทียบเป็นน้ำหนักประมาณ 28 – 57 กรัม เราควรเลือกเนื้อสัตว์แบบไม่ติดมันให้ลูก นอกจากโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์แล้ว โปรตีนที่มาจากไข่และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เต้าหู้ หรือถั่วต่างๆ เราก็ต้องให้ลูกรับประทานด้วยเช่นกัน สำหรับผลิตภัณฑ์นมนั้น เด็กๆ ควรได้รับวันละประมาณ สองถึงสามส่วนต่อวัน หรือประมาณ 8-12 ออนซ์ต่อวัน เมื่อลูกอายุครบหนึ่งขวบ เราอาจให้ลูกทานนมวัวแทนนมแม่ได้