เมื่อเจ้าวัยซนเป็นไข้
                 หมอเด็กส่วนใหญ่เชื่อว่า อาการไข้อ่อนๆ เป็นประโยชน์กับเด็ก เพราะเมื่อตัวร้อน นั่นหมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของลูกกำลังต่อสู้อยู่กับเชื้อโรคเพื่อไม่ให้ร่างกายป่วยมากกว่าเดิม นี่เป็นสาเหตุให้คุณหมอเด็กหลายคนไม่แนะนำให้ทำการรักษาอากาไข้ที่ต่ำกว่า 38.3 องศาเซลเซียส หรือน้อยกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์ 
                ปกติแล้วร่ายกายเราจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ แต่หากเมื่อเราเอามือสัมผัสหน้าผากและหลังของลูก แล้วรู้สึกว่ามันอุ่นๆ ให้วัดอุณหภูมิร่างกาย โดยเลือกใช้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลมาใช้แทนที่ที่จะที่วัดแบบเป็นแท่งแก้ว เพราะแบบเป็นแก้วอาจแตกได้ จุ่มเทอร์โมมิเตอร์ลงในน้ำอุ่น เช็คให้แห้ง แล้วทาวาสลิน หรือ สารหล่อลื่นตรงปลาย ถอดเสื้อผ้าออกแล้วให้ลูกนอนคว่ำ สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าช่องทวารหนักของลูกไม่เกิน 1 นิ้ว จับเทอร์โมมิเตอร์ให้นิ่งๆ จนครบเวลา แล้วค่อยเอามาอ่านค่า
 
                การวัดอุณหภูมิลูกทางทวารหนักนั้นจะให้ผลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไม่กล้าวัดไข้ลูกด้วยเทอร์โมมิเตอร์ทางทวารหนัก ก็สามารถใช้การวัดทางรักแร้แทนได้ค่ะ แต่วิธีการวัดแบบนี้โดยปกติจะให้ค่าอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายจริงประมาณ 0.05 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์

                ถ้าวัดอุณหภูมิร่ายกายลูกแล้ว ค่าออกมาระหว่าง 38.3-39.4 องศาเซลเซียส หรือ 101 – 103 องศาฟาเรนไฮต์ ให้เช็ดตัวให้ลูกแล้วให้ทานยาลดไข้ คอยสังเกตอาการดูค่ะว่า ลูกไข้ลดลงหรือเปล่า และหลังจากไข้ลดแล้ว ลูกกลับมาเป็นไข้อีกหรือไม่ ลูกสามารถทานอาหารหรือเล่นซนได้ตามปกติหรือเปล่า หากทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ นั่นแสดงว่าภูมิต้านทานในร่างกายของลูกยับยั้งการโจมตีของเชื้อโรคได้

                แต่ถ้าหากอุณหภูมิร่างกายของลูกสูงกว่า 39.7 องศาเซลเซียส หรือ 103.5 องศาฟาเรนไฮต์ ให้อาบน้ำหรือเช็ดตัวให้ลูกด้วยน้ำอุ่น ห้ามอาบน้ำหรือเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น เพราะจะทำให้ลูกหนาวสั่น หลังจากเช็ดตัวแล้ว รีบพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ