การใช้ยาลดไข้ในเด็ก
              ยาลดไข้ถือเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถใช้ได้เองได้โดยไม่ต้องปรึกษาแพทย์ แต่ขึ้นชื่อว่ายา ก็ย่อมต้องมีข้อบ่งใช้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ ถึงแม้จะเป็นแค่ยาลดไข้ ก็ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังค่ะ
 
ยาลดไข้มีแบบไหนบ้าง
1.พาราเซตตามอน
2. แอสไพริน
3. ไอบรูดบรเฟน 
 
พาราเซตตามอน 
             เป็นทั้งยาลดไข้และบรรเทาปวด เป็นยาลดไข้ที่ปลอดภัยกว่าชนิดอื่นๆ ซึ่งสำหรับเด็กเล็กๆ นั้น มีทั้งชนิดหยด (สำหรับทารก) และชนิดน้ำ แต่ละยี่ห้อจะมีปริมาณยาไม่เท่ากัน ดังนั้นในการให้เด็กกินยาลดไข้ คุณพ่อคุณแม่ต้องอ่านฉลาดยา เพื่อให้ยาได้ตามปริมาณที่กำหนด
 
วิธีใช้ยา
             การใช้ยาลดไข้พาราเซตตามอนนี้ ไม่ควรให้บ่อยเกินกว่าทุก 4 ชั่วโมง (ยาจะออกฤทธิ์หลังจากกินยา 30 นาที) และไม่กินเกินวันละ 4 ครั้ง ห้ามใช้ติดต่อกันนานเกินกว่า 5 วัน ถ้าไข้ไม่ลงภายใน 2-3 วัน หรือลงแล้วกลับมีไข้อีก ห้ามเพิ่มขนาดยาเอง แต่ควรพาไปพบแพทย์ทันที และการกินยา ต้องกินตามปริมาณที่ฉลากกำหนด ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจควรสอบถามเภสัชกร หรือแพทย์ก่อน
             การใช้ยาพาราเซตตามอน มักไม่ค่อยพบผลข้างเคียง หรืออาการแพ้ยา (ถ้าใช้อย่างถูกวิธี)
 
แอสไพริน
             เป็นทั้งยาลดไข้ และบรรเทาปวด และสามารถลดอาการอักเสบได้ด้วย มีคุณสมบัติทำให้เลือดแข็งตัวช้า ดังนั้น จึงไม่แนะให้ใช้เป็นยาลดไข้หรือบรรเทาปวดให้เด็ก เพราะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เช่น ผลต่อทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดท้อง และถ้าให้ในโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส หรือไข้เลือดออก อาจจะเกิดโรคที่มีได้หลายอาการพร้อมกัน ยกเว้นในกรณีที่เด็กเป็นโรคคาวาซากิ และโรคเลือดบางชนิดที่แพทย์ต้องการลดการแข็งตัวของเลือด
 
ไอบูโบรเฟน
             เป็นยาลดไข้ บรรเทาปวด บรรเทาอาการอักเสบ แต่ก็ไม่นิยมให้เด็กกินเช่นกัน เพราะมักมีผลระคายเคืองต่อกระเพาะ ลำไส้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด บางคนอาจมีอาการแพ้ (ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องกินยาชนิดนี้ แพทย์จะเป็นผู้สั่งเท่านั้น)
 
             แต่อย่ากงไรก็ตาม ก่อนการใช้ยาทุกชนิดต้องปรึกษาเภสัชกร อ่านฉลากยา ทุกครั้งนะคะ เพื่อความปลอดภัย