ชวนแม่เช็ก! หัวนมแบบไหนที่เรียกว่า “ผิดปกติ”

ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรตรวจลักษณะของเต้านมและหัวนมของตัวเอง เพื่อเช็กความผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมบอด หัวนมสั้น หัวนมแบนหรือบุ๋ม รวมถึงหัวนมใหญ่ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ และยิ่งแก้ได้เร็วเท่าไร ลูกรักก็จะได้รับคุณค่าจากนมแม่ได้เร็วยิ่งขึ้น ระหว่างการฝากท้อง หากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวนม ควรให้แพทย์ตรวจประเมินหัวนมด้วยเพื่อแก้ไขและดูแลตั้งแต่ก่อนคลอด ให้คุณแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างไม่มีอุปสรรค

  • หัวนมแบบไหนผิดปกติ 

คุณแม่ควรตรวจสอบหัวนมตัวเองด้วยวิธีที่เรียกว่า Pinch Test คือการวางหัวแม่มือและนิ้วชี้ไว้ที่ฐานของหัวนมใกล้กับขอบลานนม แล้วกดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหากันเพื่อบีบหัวนมเบา ๆ

  • หัวนมปกติ

หัวนมของคุณแม่จะยื่นออกมาจาก ลานนมปกติประมาณ 1 เซนติเมตร

  • หัวนมสั้น

หัวนมจะอยู่กับที่หรือเคลื่อน เล็กน้อย พบได้ค่อนข้างมาก

  • หัวนมบอด

หัวนมของคุณแม่จะหดตัวกลับ และจมลงไป พบได้น้อย

แก้ไขหัวนมสั้นด้วยตัวเอง ด้วยการนวดคลึงเต้านมได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ดังนี้

1. จับด้านข้างของหัวนมตรงส่วนที่ติดกับลานนมด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ คลึงเบา ๆ ไปมา พร้อมกับจับหัวนมดึงยืดออกมาเล็กน้อยแล้วปล่อย ทำประมาณ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 2-5 นาที 

2. วางนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างให้ชิดโคนหัวนม จากนั้นกดนิ้วและดึงแยกออกจากกันไปทางด้านข้างทั้งสองทาง ทำทั้งจากด้านข้าง ด้านบน และด้านล่างให้รอบบริเวณหัวนม

3. ปัจจุบันมีอุปกรณ์ช่วยดึงหัวนม (Nipple Puller) ขายกันอย่างแพร่หลาย แต่ไม่แนะนำให้คุณแม่ซื้อมาใช้เอง เพราะอาจทำให้หัวนมและลานนมแตกได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่

ข้อควรระวัง: ไม่ควรกระตุ้นด้วยการนวดเต้านมและหัวนมนานเกินกว่า 15 นาที และไม่แนะนำให้บีบหรือปั๊มน้ำนมเหลืองมาเก็บก่อนคลอด เพราะอาจทำให้มดลูกบีบตัวจนคลอดก่อนกำหนดและเป็นอันตรายได้

spot_imgspot_img

Related articles

“เนเจอร์” เปิดตัวจุกนมนวัตกรรม “NATUR INFINIT” ตอบโจทย์คุณแม่ยุคใหม่

นายทวี เอกสุวรรณเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนเจอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กภายใต้แบรนด์ NATUR,...

1-6 สัปดาห์แรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็ก 6 อาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 1-6 สัปดาห์แรกนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?  ประจำเดือนขาด โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลา 21-35 วัน...

How to จัดกระเป๋าคุณแม่มือใหม่ให้พร้อม เตรียมรับวันคลอดของเบบี๋

ในช่วงที่ใกล้คลอด คุณแม่ควรจัดเตรียมกระเป๋าของใช้สำหรับไปโรงพยาบาลในวันคลอดให้พร้อม หากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องหรือมีนัดคุณหมอจะได้ไม่ลืมเอกสารของใช้สำคัญ โดยไม่ฉุกละหุกจนสร้างความกังวลใจให้แก่คุณแม่ MOM ต้องมี! ของใช้สำหรับคุณแม่ หน้ากากอนามัย เสื้อผ้าสำหรับกลับบ้าน (ให้นมได้) ...

15-28 สัปดาห์แรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็กอาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15-28 สัปดาห์แรกนั้น รวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ช่วง 4-6 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรกันบ้าง พร้อมเช็กสุขภาพและอาการของคุณแม่ให้พร้อมรับเบบี๋ตัวน้อยกัน! น้ำหนักขึ้นหุ่นเริ่มเปลี่ยน คุณแม่จะรู้ตัวแล้วว่าน้ำหนักเริ่มขึ้นมาค่อนข้างเร็ว ...

7-14 สัปดาห์แรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็กอาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 7-14 สัปดาห์แรกนั้น รวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ช่วง 2-3 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรกันบ้าง พร้อมเช็กสุขภาพและอาการของคุณแม่ให้พร้อมรับเบบี๋ตัวน้อยกัน! แพ้ท้องชัดเจน อาการแพ้ท้องอาจยังมีอยู่ต่อเนื่อง...

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่