เผยเทคนิค! ทำความสะอาดยังไงให้ถูกหลักอนามัย เมื่อเบบี๋เริ่มขับถ่าย

NATUR แชร์เทคนิคดูแลเบบี๋ในทุกขั้นตอนของการขับถ่าย! รับรองว่าคุณแม่มือใหม่ ก็กลายเป็นคุณแม่มือเก๋าได้ง่ายๆแน่นอน! 

ลูกรักปัสสาวะบ่อยแค่ไหน

  • ลูกรักแรกเกิด

จะถ่ายปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะปัสสาวะเฉลี่ยเกือบทุกชั่วโมง และในช่วง 1-3 เดือนแรก จะปัสสาวะวันละประมาณ 10-12 ครั้ง ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณนมที่ลูกกินเข้าไป

  • ลูกรัก 5-6 เดือน

ความถี่ในการปัสสาวะของลูกจะลดลงเหลือประมาณ 9-11 ครั้ง

  • ลูกรัก 6-11 เดือน 

เมื่อลูกอายุ 6-8 เดือนจะเริ่มกินอาหารเสริมร่วมกับนมแม่ ทำให้ปัสสาวะประมาณ 8-10 ครั้ง และพอโตขึ้นจนอายุ 9-11 เดือนจะปัสสาวะลดลงอีก เหลือประมาณ 7-9 ครั้ง

  • ลูกรัก 1 ปี

จะปัสสาวะน้อยครั้งลง เหลือประมาณ 6-8 ครั้งต่อวัน และกลางคืนก็จะปัสสาวะลดลงด้วย

  • ลูกรัก 2 ปี -2 ปีครึ่ง

จะถ่ายปัสสาวะประมาณ 5-7 ครั้งต่อวัน โดยลูกเริ่มที่จะควบคุมปัสสาวะได้บ้าง และบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าปวดปัสสาวะได้แล้ว 

สุขภาพคุณหนูดูที่สีอุจจาระ

  • อุจจาระสีดำอมเขียวหรือเกือบดำ

มีลักษณะเหนียวเข้ม เป็นอุจจาระที่ลูกถ่ายใน 1-3 วันหลังคลอด เรียกว่าขี้เทา

  • อุจจาระสีเขียวปนเหลือง

เป็นสีอุจจาระหลังจากช่วงที่ลูกถ่ายขี้เทาออกมาหมดแล้ว

  • อุจจาระสีเหลือง

หากลูกได้กินนมแม่จะอุจจาระเป็นสีเหลืองคล้ายฟักทอง มีลักษณะเหลว นุ่ม แสดงว่าลูกสุขภาพปกติดี

  • อุจจาระสีเขียว

เกิดจากการที่ลูกกินนมผสม ซึ่งจะทำให้สีอุจจาระของลูกแตกต่างกันไปและไม่ออกสีเหลืองเหมือนกินนมแม่

  • อุจจาระสีเหลืองอมส้ม หรือสีมัสตาร์ด

เป็นสีอุจจาระปกติของทารกที่อาจเกิดจากอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป ทำให้ลูกที่ได้รับนมแม่ขับถ่ายออกมามีสีนี้

  • อุจจาระสีดำ

หากแม่กินวิตามินหรืออาหารที่มีธาตุเหล็ก อาจส่งผ่านน้ำนมไปยังลูกทำให้อุจจาระเป็นสีดำได้  แต่ลูกน้อยไม่ควรถ่ายอุจจาระสีนี้บ่อย ๆ  ซึ่งหากลูกถ่ายสีนี้บ่อยควรพาไปปรึกษาคุณหมอ  เพราะลูกอาจมีปัญหาในระบบทางเดินอาหารได้ อุจจาระสีแดง หากลูกกินอาหารเสริมได้แล้ว อุจจาระสีนี้ อาจเพราะคุณแม่ให้ลูกกินอาหารประเภทมะเขือเทศ แครอตที่มีสีแดง แต่หากเป็นสีแดงที่แสดงว่าเป็นเลือดสด ควรไปพบแพทย์เพราะลูกอาจท้องผูก และมีแผลฉีกขาดที่รูทวารหนักได้ 

  • อุจจาระสีขาวซีด

ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะตับหรือท่อน้ำดีของลูกอาจมีปัญหาหรือมีความผิดปกติได้  

เช็กซิ ลูกท้องเสียหรือไม่!

เด็กกินนมแม่เป็นหลักมักถ่ายเหลวเล็กน้อยคล้ายโคลน และอาจปนมูกเล็กน้อยได้ปกติจึงไม่นับเป็นการถ่ายเหลว แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้

  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • ถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน
  • อุจจาระมีมูกเลือดปน 1 ครั้งต่อวันต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

  • เป็นแบบนี้ต้องไปหาหมอ
  1. ทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือนมีอาการท้องเสีย
  2. อาการไม่รุนแรง แต่ดูแลที่บ้านแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 1 วัน
  3. มีอาการขาดน้ำ เช่น มีไข้สูง  ซึม  กระสับ-กระส่าย ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม มีอาการชัก ให้รีบพาไปโรงพยาบาล
spot_imgspot_img

Related articles

“เนเจอร์” เปิดตัวจุกนมนวัตกรรม “NATUR INFINIT” ตอบโจทย์คุณแม่ยุคใหม่

นายทวี เอกสุวรรณเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนเจอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กภายใต้แบรนด์ NATUR,...

1-6 สัปดาห์แรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็ก 6 อาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 1-6 สัปดาห์แรกนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?  ประจำเดือนขาด โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลา 21-35 วัน...

How to จัดกระเป๋าคุณแม่มือใหม่ให้พร้อม เตรียมรับวันคลอดของเบบี๋

ในช่วงที่ใกล้คลอด คุณแม่ควรจัดเตรียมกระเป๋าของใช้สำหรับไปโรงพยาบาลในวันคลอดให้พร้อม หากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องหรือมีนัดคุณหมอจะได้ไม่ลืมเอกสารของใช้สำคัญ โดยไม่ฉุกละหุกจนสร้างความกังวลใจให้แก่คุณแม่ MOM ต้องมี! ของใช้สำหรับคุณแม่ หน้ากากอนามัย เสื้อผ้าสำหรับกลับบ้าน (ให้นมได้) ...

15-28 สัปดาห์แรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็กอาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15-28 สัปดาห์แรกนั้น รวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ช่วง 4-6 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรกันบ้าง พร้อมเช็กสุขภาพและอาการของคุณแม่ให้พร้อมรับเบบี๋ตัวน้อยกัน! น้ำหนักขึ้นหุ่นเริ่มเปลี่ยน คุณแม่จะรู้ตัวแล้วว่าน้ำหนักเริ่มขึ้นมาค่อนข้างเร็ว ...

7-14 สัปดาห์แรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็กอาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 7-14 สัปดาห์แรกนั้น รวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ช่วง 2-3 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรกันบ้าง พร้อมเช็กสุขภาพและอาการของคุณแม่ให้พร้อมรับเบบี๋ตัวน้อยกัน! แพ้ท้องชัดเจน อาการแพ้ท้องอาจยังมีอยู่ต่อเนื่อง...

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่