NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็กอาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 29-40 สัปดาห์แรกนั้น รวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ช่วง 7-9 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรกันบ้าง พร้อมเช็กสุขภาพและอาการของคุณแม่ให้พร้อมรับเบบี๋ตัวน้อยกัน!
- ปวดหลัง
เพราะหลังของคุณแม่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้น รวมทั้งกระดูกเชิงกรานก็ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก ทำให้คุณแม่ปวดหลัง ปวดสะโพก การป้องกันแก้ไขคือต้องปรับท่าทางการยืนให้ตรง เดินให้ตัวตรงมั่นคงไม่ยกของหนักหรือก้มตัวเก็บของ สวมรองเท้าส้นเตี้ยที่เดินสบาย ไม่ยืนหรือเดินนานเกินไป จะช่วยลดอาการปวดหลังของคุณแม่ได้
- ปัสสาวะบ่อย
เกิดจากมดลูกที่ใหญ่ขึ้นไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะเวลาลูกดิ้นก็อาจจะยิ่งทำให้คุณแม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
“ควรหมั่นสังเกตตนเองขณะตั้งครรภ์ หากรู้สึกผิดสังเกตให้รีบไปพบแพทย์ทันที”
- หายใจลำบาก
ด้วยเพราะลูกน้อยที่เติบโตขึ้นร่วมกับมดลูกขนาดใหญ่ที่อาจจะไปเบียดปอด ทำให้คุณแม่อาจมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจไม่ทันหรือเหนื่อยหอบได้ แต่หากหอบมากหรือมีอาการหายใจไม่ออก ต้องรีบไปพบแพทย์
- เริ่มเจ็บท้องเตือน
คุณแม่อาจมีอาการที่เรียกว่าเจ็บท้องหลอกหรือเจ็บเตือน (Braxton Hicks Contraction) ที่เกิดจากมดลูกซ้อมการหดรัดตัวก่อนเจ็บท้องคลอดจริง โดยอาการเจ็บท้องเตือนมักเจ็บๆ หาย ๆ ไม่สม่ำเสมอและไม่เจ็บมาก คุณแม่บางคนจะบอกว่าคล้ายการปวดประจำเดือน แต่หากอาการเจ็บท้องเกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ สม่ำเสมอและเจ็บนานขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นการเจ็บท้องจริงได้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- เจ็บท้องคลอดจริง
ก่อนหน้านี้คุณแม่เคยมีอาการเจ็บท้องเตือนจากการที่มดลูกบีบตัวไม่สม่ำเสมอมาแล้ว มาครั้งนี้จะต้องเจอกับอาการเจ็บท้องคลอดจริง ได้แก่ การเจ็บท้องถี่ ๆ จากทุก 10 นาทีก็จะลดลงเหลือ 8 นาที และทุก ๆ 5 นาที และเจ็บมากขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการเจ็บปวดนาน ร่วมกับอาการท้องแข็ง และรู้สึกเจ็บปวดจากหลังมายังหน้าท้อง
- มีมูกเลือด ทางช่องคลอด
เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่จะบอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดลูกน้อยในเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง อาการคือคุณแม่จะมีหยดเลือดสีชมพู สีแดงหรือสีน้ำตาลไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดและมูกเหนียวบริเวณปากมดลูกขาดและหลุดออกมาเพื่อเตรียมตัวคลอดลูกน้อยนั่นเอง
- น้ำคร่ำแตก
มักจะเกิดเมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บท้องคลอดแล้ว แต่ก็มีคุณแม่บางรายที่น้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเจ็บท้องคลอดจริง ดังนั้นหากคุณแม่น้ำคร่ำแตกแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและเตรียมคลอดทันที
“หากคุณแม่มีอาการบวมบริเวณใบหน้า มือ ร่วมกับอาการปวดหัว เวียนหัว หน้ามืด เจ็บหน้าท้องส่วนบน น้ำหนักขึ้นเร็วผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของครรภ์เป็นพิษได้”
- พัฒนาการลูกในครรภ์อายุ 7-9 เดือน
ลูกรักเติบโตแข็งแรง ฉลาด แถมยังมีเซลล์ประสาทในสมองมากจนเกือบเท่าผู้ใหญ่ กระดูกส่วนต่าง ๆ เริ่มแข็งแรง ยิ่งใกล้คลอด ปอดจะพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมหายใจเองหลังคลอด ช่วงนี้ลูกรักมีลำตัวยาวประมาณ 49-51 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 2,800-3,000 กรัม
- การนับลูกดิ้น
คุณแม่เริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ (ท้องหลังอาจรู้สึกเร็วกว่านี้) โดยการนับลูกดิ้นเป็นการเช็กง่าย ๆ ถึงสุขภาพของลูกในท้องได้ คุณแม่สามารถเริ่มนับลูกดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป แนะนำให้นับหลังกินอาหาร 1 ชั่วโมงทุกมื้อ (3 มื้อ) หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เทคนิคเสริมสร้าง
พัฒนาการลูกรัก เพราะลูกรักเริ่มลืมตาและมองเห็นแสงสว่างจากภายนอกครรภ์คุณแม่ได้ จึงควรกระตุ้นการมองเห็นให้ลูกด้วยการพูดคุยร่วมกับส่องไฟฉาย อาจทำในช่วงเย็นหลังมื้ออาหาร พร้อมกับบอกลูกว่า “ลูกจ๋า นี่แม่นะจ๊ะ เห็นแม่ไหม แม่รักหนูนะลูก” เท่านี้ก็ช่วยพัฒนาเซลล์ประสาทด้านการมองเห็นให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นได้
สังเกตอาการอันตราย! ที่แม่ท้องต้องไปพบแพทย์
- อาเจียนรุนแรงจากอาการปวดศีรษะหรือมีไข้ตัวร้อน อุณหภูมิมากกว่า 37 องศาเซลเซียส
- มองเห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพเบลอ หรือเห็นเป็นจุด ๆ ลอย ๆ
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง พูดไม่ชัด มีอาการชาร่วมด้วย
- ปวดท้องมากคล้ายปวดประจำเดือน มากกว่า 4 ครั้งต่อวัน หรือไม่ปวดแต่รู้สึกว่ามดลูกบีบตัวมากกว่า 4 ครั้งต่อวัน
- มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ ตกขาวมีสีและกลิ่นผิดปกติ
- ใบหน้าบวม ดวงตาบวม มีอาการขาบวมเท้าบวม ข้อเท้าบวมเฉียบพลัน หรือน้ำหนักขึ้นเร็วมากกว่า 1.5 กิโลกรัม ใน 1 สัปดาห์
- ท้องผูกรุนแรง ปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง
- เป็นลม เวียนหัวบ่อย ใจเต้นแรง ใจสั่น
- ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
- ลูกดิ้นน้อย เคลื่อนไหวน้อยลง หรือรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น
- มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือน้ำคร่ำแตก
CHECKLIST ไอเทมจำเป็นเตรียมตัวก่อนคลอด! กับของ MOM ต้องมี !
- เครื่องปั๊มนม
- แผ่นซับน้ำนม
- ถุงเก็บน้ำนม
- ผ้าคลุมให้นม
- หมอนให้นม
- ถ้วยป้อนนมแม่ กรณีคุณแม่เจ็บหัวนม ควรใช้ถ้วยป้อนนมให้ลูกเพื่อป้องกันลูกติดขวดนม
- อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น เครื่องนึ่งขวดนมหรือเครื่องอบฆ่าเชื้อ แปรงล้างขวดนมและผลิตภัณฑ์ล้างขวดนม
- ขวดนม จุกนม (เมื่อคุณแม่ต้องไปทำงานนอกบ้านหรือคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องหัวนม)
- เสื้อชั้นในให้นม
- เสื้อผ้าสำหรับให้นมสะดวก 2-3 ชุด
- กระติกน้ำแข็ง กระเป๋าเก็บความเย็น Cool/Ice Pack ใช้เก็บรักษาน้ำนมแม่ที่ปั๊มไว้
เตรียมอุปกรณ์ของใช้ให้ลูกรัก
ขอแนะนำให้คุณแม่ทำเช็กลิสต์ของใช้ในการเลี้ยงลูกและของใช้ในวันไปคลอด เพื่อให้มีของจำเป็นพร้อมครบถ้วนที่สุด
Baby Checklist
Clothing
- เสื้อผ้าผูกป้ายแขนสั้น +กางเกงขาสั้น 2-3 ชุด
- เสื้อผูกป้ายแขนยาว + กางเกงขายาว 2-3 ชุด
- ถุงมือ + ถุงเท้า อย่างละ 1-2 คู่
- เสื้อคลุมเมื่อเดินทาง
- หมวกเด็กอ่อน 2 ใบ
- ผ้าห่อตัว 2 ผืน
- ผ้าอ้อมผ้า 3-4 โหล
- ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 2 ห่อ
- ไม้แขวนเสื้อ 2 โหล
- ที่ตากผ้าอ้อมแบบหนีบ
Feeding
- เครื่องปั๊มนม
- ถุงเก็บน้ำนม
- กระติกน้ำร้อน
- ขวดนมเด็กแรกเกิด
- จุกนมเด็กแรกเกิด
- ผ้าคลุมให้นม
- กระเป๋าเก็บอุณหภูมิ
- ครีมทาหัวนม
- ชุดชั้นในให้นม
- ถ้วยป้อนน้ำนม
Cleaning
- น้ำยาซักผ้าเด็ก
- น้ำยาปรับผ้านุ่มเด็ก
- น้ำยาล้างขวดนม และจุกนม
- ทิชชูเปียก
- สำลีแผ่น
- สำลีก้อน
- สำลีก้านเล็ก/คอตตอนบัด
- แปรงล้างขวดนมและจุกนม
- เครื่องนึ่งขวดนม เครื่องอบฆ่าเชื้อ
Bathing
- อ่าง/กะละมังอาบน้ำเด็ก
- เก้าอี้อาบน้ำเด็ก
- แชมพู/ครีมอาบน้ำเด็ก
- หมวกสระผมกันแชมพู
- โลชัน/เบบี้ ออยล์
- ผ้าเช็ดตัว
- ฟองน้ำ
Sleeping
- เตียงนอน/ที่นอนเด็ก
- ฟูก/เบาะนอน
- หมอนหนุน/หมอนหลุม
- หมอนข้างเด็ก
- ผ้าปูที่นอน
- ผ้าห่ม
- ผ้ายางรองกันฉี่
- มุ้งเตียง/มุ้งครอบ
- เปลโยก
Health & Safety
- คาร์ซีท
- รถเข็นเด็ก
- เป้อุ้มเด็ก
- ปรอทวัดไข้
- ที่ดูดน้ำมูก
- เจลแปะลดไข้เด็ก
- ยาแก้ท้องอืด
- ครีมทากันยุง
- กรรไกรตัดเล็บ
- ครีมทาแมลงกัดต่อย
- ครีมทาก้นเด็ก