NATUR ชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาเช็ก 6 อาการสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในช่วง 1-6 สัปดาห์แรกนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?
- ประจำเดือนขาด
โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลา 21-35 วัน แต่ละคนจะต่างกัน แต่หากประจำเดือนขาดไป 10 วัน ต้องสงสัยว่าคุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว ซื้อชุดทดสอบการครรภ์มาตรวจและมีผลออกมา 2 ขีด ซึ่งบอกถึงฮอร์โมนเอชซีจี (hCG : Hu-man Chorionic Gonadotro-pin) ที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ได้รับการผสมแล้วไปฝังตัวที่ผนังมดลูก นั่นแสดงว่าลูกรักกำลังเติบโตอยู่ในท้อง พร้อมให้คุณแม่ไปฝากครรภ์และดูแลตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
- เจ็บหน้าอก
มีอาการคัดตึงเต้านม เจ็บหัวนมเล็กน้อย คุณแม่จะรู้สึกว่าหน้าอกนุ่มนิ่มขึ้น มองเห็นเส้นเลือดบริเวณผิวหนังเต้านมได้ชัดขึ้น และหากสังเกตจะพบว่าลานนมมีสีเข้มคล้ำขึ้นด้วย
- คลื่นไส้ อาเจียน
“อาการแพ้ท้อง” มักพบในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ โดยมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงเช้า แต่บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ได้ทั้งวันลองหาเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น น้ำขิง น้ำเต้าหู้ ช็อกโกแลตร้อนจิบตอนเช้า กินอาหารอ่อน ๆ เพื่อให้ย่อยง่ายเพราะบางครั้งการอาเจียนจะมากขึ้นหากมีภาวะน้ำตาลต่ำร่วมด้วย หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากควรไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องรับประทานยาลดอาเจียนและวิตามินบางชนิดเพื่อลดอาการแพ้ท้อง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก บางรายที่กินไม่ได้น้ำหนักลด หรือคุมการอาเจียนไม่ได้ด้วยยากินอาจต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
- เลือดออกทางช่องคลอด
คุณแม่บางคนอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยหรือบางคนเรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Spotting) สาเหตุเกิดจากการที่ตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกของคุณแม่ ทำให้มีเลือดเป็นสีชมพูหรือสีน้ำตาลออกมาทางช่องคลอด มักจะออกมานิดเดียวแล้วก็หายไป ไม่ต้องกังวลใจ ยกเว้นว่ามีเลือดไหลออกมานานหลายวันหรือมีปริมาณมากผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
- พัฒนาการของลูกในครรภ์ 1 เดือนแรก
ลูกรักยังเป็นตัวอ่อนที่มีรูปร่างงอคล้ายกุ้ง มีขนาดเล็กจิ๋วเท่าปลายเข็ม ร่างกายกำลังสร้างเลือด เส้นเลือด
มีการแบ่งเซลล์เพื่อพัฒนาเป็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการลูกรัก
ดูแลตัวเอง กินอาหารที่มีคุณค่า หลีกเลี่ยงการใช้ยาสารเคมีอันตราย และอาหารที่ไม่ปลอดภัย พักผ่อนให้เพียงพอ และรีบไปฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งท้อง เพื่อรับยาบำรุงครรภ์ โดยเฉพาะกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ของระบบประสาททารกในครรภ์