สมองของลูก จุดเริ่มของความคิด

 

                ในช่วง 2 – 3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ การศึกษาและความรู้เกี่ยวกับสมองของคนเราพัฒนาขึ้นมาก ทำให้รู้ว่า คนเราจะฉลาด หรือเรียนรู้ได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสมองเป็นหลัก
โดยทั่วไปแล้วสมองของคนเราจะเจริญเติบโตที่สุดในช่วง 3 – 4 ปีแรกของชีวิต คือ สมองจะมีอัตราการผลิตเซลล์หรือเจริญเติมโตถึง 85% – 90% เมื่ออายุเกิน 4 ปีไปแล้ว สมองจะเจริญเติบโตเฉลี่ย เพียง 10% เท่านั้น ดังนั้น หากเราต้องการให้ลูกของเราเป็นเด็กฉลาดและเรียนรู้อย่างรวดเร็ว พ่อแม่เช่นพวกเราควรจะทราบเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสมองของลูก เพื่อให้เราสามารถพัฒนาสมองของลูกได้อย่างถูกต้อง
                สมองของคนเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ใหญ่ คือ
    ส่วนก้านสมอง หรือสมองส่วน R (Reptilian) เป็นส่วนที่ต่อกับไขสันหลัง และสมองน้อย (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองของร่างกายที่เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ โดยเริ่มจากการรับข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆ ของร่างกาย ทั้ง หู ตา จมูก ปาก มือ ผิวหนัง แล้วส่งข้อมูลผ่านทางเส้นประสาทมายังสมองส่วนนี้ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ก็เช่น เมื่อลูกเล็ก มักเอียงแก้มหนี้หนวดสั้นๆ ของคุณพ่อ เมื่อก้มลงหอมแก้เพราะลูกเจ็บ เป็นต้น

 

                สมองส่วนกลางหรือสมองส่วน L (Limbic) ซึ่งประกอบไปด้วย ทาลามัส ไฮโปทาลามัส และระบบลิมบิก สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ควบคุมทั้งธรรมชาติของร่างกายและการเรียนรู้ทางสังคม เพราะไฮโปทาลามัสจะควบคุมความดันเลือด ความหิว ความกระหาย ความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ในขณะที่ระบบลิมบิกจะเป็นส่วนที่ควบคุม อารมณ์ แรงจูงใจ และเมื่อมีการกระตุ้นด้านอารมณ์ ก็จะทำให้เกิดความสนใจและความจำ จึงกล่าวได้ว่า สมองส่วนนี้ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้
                สมองส่วนคอร์เท็กซ์ หรือสมองส่วน N (Neo-cortex) สมองส่วนนี้อยู่ด้านบนสมองส่วนกลาง มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เนื้อสมองบริเวณนี้มีสีเข้ม และมักถูเรียกว่า “เนื้อสีเทา” ทำหน้าที่ในการคิดที่ซับซ้อน การเรียนรู้ด้านภาษา สัญญาลักษณ์ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การหาเหตุผล การโต้ตอบด้วยเหตุผล และการคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้วยังทำหน้าที่แยกแยะ เชื่อมโยงข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่ เก็บความจำและรื้อฟื้นความจำด้วย
   สมองของลูกน้อยประกอบด้วยเซลล์สมองจำนวนหลายพันล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีส่วนประกอบที่เหมือนกันคือ ตัวเซลล์ หาง และเส้นใยประสาท ซึ่งเส้นใยประสาทนี้เองซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับเซลล์สมองอื่นๆ การทำงานของสมองก็คือ การส่งถ่ายข้อมูลจากเซลล์สมองแต่ละเซลล์ โดยแปลงข้อมูลให้เป็นอนุภาคไฟฟ้า และส่งผ่านต่อๆ กันไปทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “คลื่นสมอง“
   สำหรับสมองของลูกที่กำลังเจริญเติบโตนั้น เส้นใยประสาทจะเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ทั้งจำนวนและโครงสร้าง ซึ่งจะเพิ่มจำนวนขึ้นตามการสั่งสมของประสบการณ์และความจำ ยิ่งเส้นใยประสาทมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็หมายความแต่ละเซลล์สมองยิ่งเชื่อมโยงกันมากขึ้น นั่นหมายความว่า ความสามารถในการเรียนรู้และการคิดก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย
   สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากหาวิธีการเพิ่มจำนวนและโครงสร้างของเส้นใยประสาทให้กับลูกนั้น ต้องเข้ามาติดตามที่นี่ค่ะ